.....นักสตรีนิยมหลายยคนตั้งคำถามถึงระบบ "สินสอด" ว่าเป็นการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของเพศหญิงว่าถูกตีค่าเป็นเงิน ผู้หญิงเป็นเพียงทรัพย์สินในสังคมชายเป็นใหญ่ ดังนั้นในสังคมที่สืบทอดประเพณีสินสอดคือสังคมที่ผลิตซ้ำและทำให้มนุษย์หยิงกลายเป็นเเค่วัตถุที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนได้
....อย่างไรก็ตาม ในอดีตนั้นต่างไปสิ้นเชิง ในบริบทสังคมไทยที่มีรากฐานเป็นสังคมเกษตรกรรม สถานะของเพศหญิงในครัวเรือนนั้นค่อนข้างดีกว่าในสังคมสมัยมาก เนื่องจากครอบครัวฝ่ายหญิงเป็นผู้ครอบครองปัจจัยการผลิต
....ในเรื่องของสินสอดนั้น ปัจจุบันเกิดความเข้าใจผิดของคนในยุคหลังว่าสินสอดนั้นเป็นธรรมเนียมในการแต่งงานมาแต่โบราณ เข้าใจผิดไปว่าสมัยก่อน "ผู้หญิงจะแต่งเข้าบ้านผู้ชาย" จึงไม่มีโอกาสดูแลปรนนิบัติพ่อแม่ของฝ่ายหญิงเหมือนเดิม ยิ่งถ้าบ้านอยู่ไกลกันมากยิ่งกลับมาเยี่ยมไม่ได้ จึงต้องให้เงินหรือทรัพย์สินแก่พ่อแม่ฝ่ายหญิงไว้ใช้ตอนแก่ หรือหากเลิกรากันไป เงินสินสอดจะเป็นเหมือนหลักประกันว่าฝ่ายหญิงจะมีอยู่มีกินต่อไปนั้น เหล่านี้เรื่องเข้าใจธรรมเนียมโบราณผิดถนัด
.....ในอดีต คนไทยในสังคมเกษตรกรรมแต่งงานแบบ Matrilocal หรือ การแต่งงานเข้าบ้านฝ่ายหญิงครับ สิ่งที่ยืนยันได้จากประเพณีก็คือการแห่ขันหมากไปสู่ขอและการสู่ขวัญทำบุญเรือนนั้นเกิดที่บ้านฝ่ายหญิง แม้กระทั่งการเรียกฝ่ายชายว่า “บ่าว” สะท้อนสถานภาพของชายในบ้านได้เป็นอย่างดี
......ในทางการศึกษาด้านวัฒนธรรมศึกษามองว่าเพราะในอดีตนั้นบ้านเราเป็นสังคมเกษตรกรรม ที่ดินและเรือนเป็นทรัพย์สินสำคัญ พ่อแม่จะไม่ยอมมอบที่ดินให้คนนอกดังนั้นหาบ้านหนึ่งมีลูกสาวหลายคน เมื่อออกเรือนก็คือการย้ายจากบ้านพ่อแม่ไปสร้างเรือนใหม่ในอาณาเขตที่ดินใกล้ๆ กัน และลูกสาวคนเล็กต้องครองเรือนใหญ่เพื่อดูแลพ่อแม่ยามแก่เฒ่า เนื่องจาลูกสาวคนเล็กมักจะถึงวัยออกเรือนช้าที่สุดนั่นเอง
ดังนั้น ฝ่ายชายที่แต่งเข้าบ้านฝ่ายหญิง จะได้รับการแบ่งปันมรดกที่ดินจากครอบครัวฝ่ายหญิงก็ต่อเมื่อได้ทำงานในไร่นาช่วยครอบครัวนานพอจะสะสมทุนบางอย่างได้ และมีความพยายามมากพอในการตัดไม้และผูกเรือนด้วยตัวเอง จึงจะปลูกเรือนใหม่ได้
ในการแต่งงานใหม่ทรัพย์สินมรดกที่ฝ่ายชายได้รับจากพ่อแม่ของตนจึงกลายเป็น “สินสอด” ที่จะนำมาอยู่กินในบ้านเรือนของฝ่ายหญิง เพื่อเป็นทุนในการผลิตแก่ลุกชายตนเองสำหรับต่อรองในบ้านฝ่ายหญิงนั่นเอง
สินสอด ในสังคมเกษตรกรรมเป็นอย่างไร?
.........จะเห็นได้ว่าวิถีชีวิตของคนในสังคมเกษตรกรรมสิ่งสำคัญที่ที่ทำกิน อีกสิ่งคือ แรงงานและทุน ซึ่งฝ่ายชายจะมีสองสิ่งนี้ บ้านที่มีลูกชายและลูกผู้หญิงก็จะสงวนที่ดินให้สืบทอดผ่านลูกหญิง ส่วนลูกชายนั้นพ่อแม่มักจะมอบมรดกเป็น วัวควายหรือเงิน ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เป็นทุน ดังนั้นเมื่อลูกชายออกเรือน ก็จะนำมรดกเหล่านี้ไปเป็น “สินสอด” เพื่อใช้ในการทำกินในที่ดินของฝ่ายหญิง และมักจะไม่ได้สืบทอดที่ดินจากพ่อแม่เพราะถือว่าพ่อแม่ได้ให้มรดกไปเป็นสินสอดเเล้วที่เหลือฝ่ายชายต้องแสวงหาและสะสมทุนใหม่เอง ไม่ว่าจะเป็นการบุกเบิกถากถางที่ทำกินใหม่หรือการรับมอที่ดินผ่านบ้านของภรรยา ทำให้ครอบครัวคนไทยโบราณมีลักษณะเป็นครอบครัวขยายและกลายเป็นชุมชนหมู่บ้านนั่นเอง
......ต่อมาวิธีคิดเรื่อง ชายดูแลหญิง หญิงอยู่บ้านชายทำงาน เป็นวิถีการทำงานในสมัยใหม่ทำให้ สินสอด เปลี่ยนความหมาย เพราะในช่วงที่ไทยเข้าสู่สังคมสมัยใหม่ ฝ่ายชายมีบทบาทในการทำงาน การเรียนมากกว่า มีโอกาสสะสมทุนและฐานะทางการเงิน ดังนั้น สินสอดที่เป็นเงินหรือทองจึงเป็นเหมือนการซื้อภรรยาหรือการ "ดาวน์สาว" มาไม่มีผิด
....ประเด็นนี้สืบเนื่องจาก วิถีการผลิตแบบอุตสาหรรมที่เปลี่ยนแปลงโลกทัศน์แบบเกษตรของคนชนชั้นกลาง วิธีคิดที่สำคัญคือ ระบบศีลธรรมแบบผู้ดี หรือศีลธรรมแบบ "วิกตอเรียน" อ.ธเนศ วงศ์ยานาวา นักมานุษยวิทยา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวย้ำกับเราเสมอว่า สิ่งที่มาพร้อมกับการทำงานสมัยใหม่ คือ วิธีคิดแบบยิว-คริสเตียน ที่ให้คุณค่าแก่ชายเป็นใหญ่ และศีลธรรมผัวเดียวเมียเดียว รวมถึงจรรยามารยาทแบบวิกตอเรียน
ผู้คนเริ่มคิดว่า ผู้ชายต้องดูแลผู้หญิงจึงเป็นสุภาพบุรุษ ผู้หญิงในปกครองของชายจะต้องได้รับการเลี้ยงดูปกป้อง ฝ่ายชายควรทำงาน ฝ่ายหญิงควรอยู่กับบ้านผลิตลูกและเลี้ยงลูก เพื่อให้ลุกโตขึ้นและรับใช้ระบบการผลิตแบบใหม่นี้ต่อไป
......วิธีคิดนี้จึงถูกสวมเข้ากับเรื่องสินสอด ซึ่งเดิม คือ สินทรัพยืที่ชายต้องนำเข้าไปรวมกับบ้านฝ่ายหญิงเพื่อใช้เป็นเเรงงานในระบบเกษตรกรรมยังชีพ ความหมายใหม่ถูกสร้างจากวิธีคิดชายเป็นใหญ่ ว่าการนำเงินไปให้พ่อแม่ฝ่ายหญิง คือ ความชอบธรรมและเป็นราคาที่เหมาะสมเพราะการเลี้ยงลูกสาวมานั้นเสียเงินและเวลา การให้สินสอดและนำผู้หิงออกจากบ้าน ผู้หญิงจึงตกเป็นวัตถุซื้อขายนั่นเอง
......อย่างไรก็ตาม การมองหญิงสาวเป็นวัตถุที่ต้องซื้อขายหรือขโมยได้จากพ่อแม่หรือเผ่าของผู้หญิง ยังปรากฏอยู่ในอีกหลายวัฒนธรรมและกลุ่มชน แต่มักจะเป็นกลุ่มชนที่เคลื่อนย้ายบ่อยๆ เช่น กลุ่มชนเลี้ยงสัตว์ในแถบเอเชียกลาง ต่างจากวัฒนธรรมเกษตรกรรมที่มีที่ดินจำกัด ซึ่งวัฒนธรรมแบบหลังฝ่ายหหญิงคือผู้ครอบครองปัจจัยการผลิตนั่นเอง
ที่มาภาพ
https://praewwedding.com/app/uploads/2017/11/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%94.jpg